วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สัตว์ต่างๆ

สัตว์ บก
 สัตว์บก เป็นสิ่งมีชีวิต ที่เป็นสัตว์เดรัจฉาน มีทั้ง 2ขาและ 4ขาหรือมากกว่านั้น ไม่นับคน จะอาศัยใช้ชีวิตอยู่บนบก ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ใหญ่ ๆ คือ พวกที่ออกลูกเป็นไข่ เช่น ไก่ พวกออกลูกเป็นตัวเช่น แมว สุนัข ช้าง พวกที่มีกระเป๋าหน้าท้องเช่น จิงโจ้ และพวกที่มีรก โดยส่วนใหญ่สัตว์ตัวเมียมีนมให้ลูกกินสัตว์ หมายถึง สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มีความ รู้สึก และสามารถเคลื่อนไหว ย้ายที่ไปได้เองสัตว์สามารถแบ่งได้เป็น ชนิด ได้แก่    สัตว์บก สัตว์น้ำสัตว์ครึ่งบก ครึ่งน้ำ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัตว์บก


สัตว์ น้ำ

สัตว์น้ำ (อังกฤษaquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตาม
ที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
สัตว์ ครึ่งบก ครึ่งน้ำ

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (อังกฤษAmphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือกปอดผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ[1] สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม
ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชนิด[2]
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
เนื้อหาผิดพลาดประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น